การสอนดนตรีกับเด็กประถมศึกษา



สอนดนตรีในระดับประถมศึกษาอย่างไร
ให้มีประสิทธิภาพ

                การเรียนการสอนดนตรีในระดับประถมศึกษานั้น  นักการศึกษาดนตรี แต่ละคน ต่างก็มีจุดมุ่งหมายตรงกัน คือ  มุ่งเน้นที่จะสอนให้ผู้เรียนมีความรู้และมีทักษะ ทางดนตรี  นอกจากผู้ เรียนจะได้ความรู้ทางด้านดนตรีทั้งด้านทฤษฎีและความรู้ทั่ว ๆ ไปแล้ว  การได้สัมผัสดนตรีไม่ว่าจะ ด้วยการร้องรำทำเพลงหรืออย่างไรก็ตาม  ยังทำให้ผู้เรียนเกิด สุนทรียรสในดนตรีอีกด้วย  อันเป็น การช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้คนในสังคมยุคปัจจุบันมี พัฒนาการที่ดีขึ้น  เมื่อมนุษย์มีจิตใจที่สุขสงบ และงดงาม  สังคมไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือชุมชน ใดก็ตามจะน่าอยู่ยิ่งขึ้น

                การเรียนการสอนดนตรีให้ได้ผลสมความมุ่งหมายนั้นควรตั้งอยู่บนพื้นฐานแนว คิดทางทฤษฎีดนตรีของนักการศึกษาดนตรีที่มีความรู้และประสบการณ์  เนื่องจากจะทำให้ผู้เรียนมี ความรู้ความเข้าใจและทักษะทางด้านดนตรีในเวลาอันสั้น โดยไม่ผิดเพี้ยน  ซึ่งนักการศึกษาดนตรีที่ มีชื่อเสียง  มีความรู้ทางทฤษฎี  มีประสบการณ์เป็นที่ยอมรับได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย  และมี การนำไปใช้ในประเทศต่าง ๆ ได้แก่แนวคิดของ Emile Jaques – Dalcroze เชื่อว่าการพัฒนาการฟัง ควบคู่ไปกับการตอบสนองโดยการเคลื่อนไหวร่างกาย  ช่วยทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้าน ดนตรีได้  ถือเป็นจุดเริ่มต้นของยูริธึมมิกส์ ( Eurthythmics )  เป็นการสอนให้ผู้เรียนรู้จักการเคลื่อนไหวทางจัง หวะที่ดีให้เข้ากับจังหวะดนตรี  นอกจากนั้นยังมีแนวคิดของ Carl Orff  ซึ่งเน้นที่กระบวนการจาก สิ่งที่ง่ายที่สุดก่อนและให้ผู้เรียนได้ปฎิบัติให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ใช้การเคลื่อนไหวทางกาย ภาพในการเรียนรู้และแสดงออกถึงจังหวะตก  อัตราจังหวะ  ความเร็วจังหวะ  เป็นการได้รับประสบ การณ์ตรง  ทำให้เข้าใจองค์ประกอบของดนตรีอย่างลึกซึ้ง  แนวคิดของนักการศึกษาดนตรีที่น่าสน ใจอีกแนวคิดหนึ่งคือ  Zoltan Kodaly เน้นการร้องเป็นหลัก  ซึ่งรวมไปถึงการอ่านโน้ตด้วย  โดยใช้ วิธีการต่าง ๆ ในการฝึกฝนการร้องและการอ่านเช่น  โทนิคซอล - ฟา  สัญญาณมือ  สัญลักษณ์ของ จังหวะ  เพลงที่ใช้สอนในระยะแรกควรเป็นเพลงพื้นบ้าน เพราะผู้เรียนจะรู้จักดีที่สุด  ภายหลังจึงนำ เพลงชั้นสูงที่มีคุณค่ามาใช้ในการเรียนการสอน ( ณรุทธ์  สุทธจิตต์, 2536 ) จะเห็นได้ว่าแต่ละแนว คิดมีวิธีการสอนและจุดเด่นแตกต่างกันออกไป  อย่างไรก็ตามทั้ง 3 แนวคิดนี้มีเป้าหมายพื้นฐานเช่น เดียวกันคือ  การให้ประสบการณ์ทางดนตรีแก่ผู้เรียนแก่ผู้เรียนโดยคำนึงถึงการพัฒนาแนวคิดและ ทักษะทางดนตรีแก่ผู้เรียนโดยคำนึงถึงการพัฒนาแนวคิดและทักษะทางดนตรีอย่างเป็นระบบสำหรับแนวคิดของ Kodaly ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในนานาประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา  สหราช อาณาจักร  ออสเตรเลีย  อาฟริกาใต้  ญี่ปุ่น  ฮ่องกง  ในประเทศอเมริกาได้มีการจัดตั้งองค์กร OAKE ( The Organization of  American Kodaly Educations ) มีการจัดการประชุมทางวิชาการนานาชาติ เกี่ยวกับดนตรีตามแนวคิดของ Kodaly ที่เรียกว่า IKS  (International  Kodaly  Society ) ซึ่งมีสมา ชิกมาจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ( Kite, 1985 )  และยังดำเนินการจัดประชุมมากทุกปีจนถึงปัจจุบัน
                แนวคิดในการสอนดนตรีของ Kodaly นั้นน่าจะเป็นแนวคิดที่เหมาะสมที่สุดสำ หรับการสอนดนตรีในประเทศไทยเรา  ไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ อันเป็นการขจัดปัญหาของรัฐบาลที่มีงบประมาณให้ไม่เพียงพอ  นอกจากนี้เพลงพื้นบ้านของไทย เราก็เหมาะจะนำมาใช้สอนเพราะเป็นเพลงง่าย ๆ อยู่ในบันไดเสียง Pentatonic คือมีโน้ต 5 ตัว ได้แก่ โด เร มี ซอล ลา แทบทั้งสิ้น  จึงสอดคล้องกับหลักการของ Kodaly คือสอนจากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ ยาก  มีขั้นตอนอย่างเป็นระบบ
                การเรียนการสอนดนตรีโดยเฉพาะในระดับประถมศึกษานั้น เราควรคำนึงถึงความ สำคัญในหลักการและวิธีการสอน  สิ่งที่จะขาดไม่ได้ คือ การให้เนื้อหาและทักษะทางดนตรีที่ครบ ถ้วน  อันนำมาซึ่งการมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคมและสติปัญญา
                ในส่วนของเนื้อหาดนตรี  ได้แก่  องค์ประกอบของดนตรีและวรรณคดีดนตรี  การ ให้ความรู้ทางดนตรีแก่เด็กในแต่ละกิจกรรมนั้น  ผู้สอนควรตระหนักถึงผลที่นักเรียนจะได้รับ โดย การจัดกิจกรรมทางดนตรีที่คำนึงถึงองค์ประกอบของดนตรีอันได้แก่ จังหวะ ทำนอง เสียงประสาน รูปแบบ  อารมณ์ของเพลง และแบบของเพลง  เมื่อนักเรียนได้รับประสบการณ์ทางดนตรีที่สนุก สนาน ประกอบกับการสอดแทรกองค์ประกอบของดนตรีที่อาจจะผสมผสานกันหรืออย่างใดอย่าง ใด  นักเรียนก็จะเกิดการเรียนรู้ทางดนตรีอย่างแท้จริง  อันจะทำให้เกิดความเข้าใจและซาบซึ้งทาง ดนตรี  นอกจากนี้วรรณคดีดนตรีก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการเรียนการสอนดนตรี  อันได้แก่  บทเพลง ในแต่ละยุค  ลักษณะของเพลงในแต่ละยุค  เป็นต้น  และประวัติดนตรีอันได้แก่ ที่มาของบทเพลง ในแต่ละยุค  ประวัติของผู้ประพันธ์เพลงในแต่ละยุค  สิ่งเหล่านี้หากผู้เรียนได้เรียนรู้  ก็จะช่วยให้ผู้ เรียนเกิดความเข้าใจในบทเพลง  เข้าใจองค์ประกอบของดนตรีมากขึ้น  และเป็นวิถีทางหนึ่งจะช่วย ให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้งดนตรีในที่สุด
                สำหรับทักษะทางดนตรี  เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการให้ประสบการณ์ทางดนตรีแก่ เด็ก ดังนั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดนตรีจึงควรให้ประสบการณ์ด้านต่าง ๆ เป็นการให้ เด็กเกิดทักษะดนตรีหลาย ๆ ด้าน ทักษะดนตรีดังกล่าวประกอบด้วย การฟัง  การร้องเพลง  การอ่าน  เขียนโน้ต  การเคลื่อนไหวร่างกาย  การเล่นเครื่องดนตรี  และการคิดสร้างสรรค์
                การฟัง  เป็นทักษะที่จำเป็นมากสำหรับการเรียนการสอนดนตรี  เนื่องจากดนตรี เป็นเรื่องของเสียง  ระบบโสตประสาทต้องรับรู้  ดังนั้น การฟังจึงเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการ เรียนการสอนดนตรีทุกระดับ
                การร้องเพลง  เป็นทักษะดนตรีที่ต้องได้รับการฝึกฝนเช่นเดียวกัน  การร้องเพลง เป็นทักษะที่ผู้เรียนจะต้องแสดงออก ซึ่งต่างกับการฟังเป็นทักษะที่ผู้เรียนต้องรับเข้าไป  ดังนั้น  การ ร้องเพลงทำให้ผู้เรียนได้แสดงออก  ซึ่งสามารถสร้างความสนุกสนานและความสนใจให้กับผู้เรียน ได้เป็นอย่างดีการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาจึงควรมีกิจกรรมการร้องเพลงเป็นแกนสำคัญ ซึ่งอาจจะจัดให้มีการร้องเดี่ยว  ร้องหมู่  หรือร้องประสานเสียง  ทักษะทางดนตรีที่มีความสำคัญไม่ น้อยไปกว่าการร้องเพลง คือ การอ่านเขียนโน้ต
                การอ่านเขียนโน้ต  การเขียนควรเป็นทักษะที่ต้องได้รับการฝึกฝนหลังจากการอ่าน สำหรับในส่วนของการอ่านโน้ตนั้น  เป็นทักษะการอ่านสัญลักษณ์ทางดนตรี  จัดได้ว่าเป็นทักษะสำ คัญพื้นฐานประการหนึ่งในการศึกษาดนตรี  เนื่องจากดนตรีเป็นเรื่องของเสียง  จึงต้องมีการแปล เสียงเป็นสัญลักษณ์เพื่อใช้ในการถ่ายทอดเสียงต่าง ๆ ฉะนั้นสิ่งที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจดนตรี หรือสิ่งที่จะเป็นสื่อในการแสดงออกทางดนตรีจึงมักต้องผ่านขั้นตอนการแปลหรือการใช้สัญลักษณ์ ดนตรีเสมอ  ทักษะที่ควรจัดกิจกรรมให้กับผู้เรียนอีกทักษะหนึ่ง  โดยเฉพาะผู้เรียนในระดับประถม ศึกษา  คือ  การเคลื่อนไหวร่างกาย
                การเคลื่อนไหวร่างกาย  ถือเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถจากที่นั่งฟัง  ร้องเพลง  อ่าน - เขียนโน้ตมาเป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย  ทำให้ผู้เรียนได้รับความสนุกสนานยิ่งขึ้น  และยังช่วยพัฒ นาแนวคิดพื้นฐานทางดนตรีได้เป็นอย่างดี  นอกจากนี้ถ้าหากทางสถานศึกษาสามารถจัดหาเครื่อง ดนตรีซึ่งราคาไม่แพงนักได้  เช่น  ขลุ่ยหรืออังกะลุง  ก็จะเป็นการดีสำหรับผู้เรียนดนตรีที่จะได้มีโอ กาสแสดงออกทางดนตรี  ได้ฝึกทักษะการเล่นดนตรี  อันจะทำให้เกิดสุนทรียรสในเพลงของชาติ ตน  เพราะการได้สัมผัสกับเครื่องดนตรีด้วยตนเองนับได้ว่าเป็นโอกาสที่จะได้รู้จักดนตรีโดยแท้จริง หลังจากที่ผู้เรียนได้ประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ แล้วไม่ว่าจะเป็นทักษะการฟัง การร้องเพลง  การ อ่านเขียนโน้ต  การเคลื่อนไหวและการเล่นเครื่องดนตรี  นักเรียนก็สามารถที่จะประมวลทักษะต่าง ๆ  จนทักษะการคิดสร้างสรรค์ขึ้นได้  เป็นการส่งเสริมให้เกิดผลงานใหม่ ๆ ตลอดจนแนวความคิด หรือกิจกรรมที่แปลกและน่าสนใจขึ้น
                เมื่อผู้สอนได้เห็นความสำคัญของเนื้อหาตลอดจนทักษะที่จะจัดให้แก่ผู้เรียนแล้ว ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งผู้สอนจะต้องคำนึงถึงคือ  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่น่าสนใจ และมีจุดมุ่งหมายครบถ้วนตามเนื้อหาและทักษะที่ตั้งเป้าประสงค์ไว้  การจัดกิจกรรมดนตรีในระดับ ประถมศึกษาควรเน้นทักษะดนตรี  โดยให้ผู้เรียนปฎิบัติทักษะต่าง ๆ ครบทุกทักษะ โดยเน้นทักษะ ใดทักษะหนึ่งโดยเฉพาะ  เพื่อให้ผู้เรียน เรียนรู้ทักษะนั้น ๆ ได้อย่างเต็มที่  ( ณรุทธ์ สุทธจิตต์, 2534 ) การเรียนการสอนดนตรีไม่ควรให้ผู้เรียนในระดับประถมศึกษาต้องนั่งฟังคำอธิบายเนื้อหาดนตรีอยู่ เป็นเวลานาน  เนื่องจากนักเรียนในวัยนี้ยังมีสมาธิในระยะสั้น  หากผู้เรียนในวัยนี้ได้รับความสนุก สนานในกิจกรรมนั้น ๆ ก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้เนื้อหา และทักษะดนตรีขึ้นมาโดยอัตโนมัติ
                นอกจากนี้ความแตกต่างในเรื่องเพศก็ยังเป็นตัวแปรที่สำคัญที่ผู้จัดกิจกรรมการ เรียนการสอนควรคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่ง  เพื่อให้กิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงสุด โดย ธรรมชาติของเด็กในวัยนี้  นักเรียนชายจะซุกซนกว่านักเรียนหญิง  ดังนั้นกิจกรรมที่จะจัดให้แก่ผู้ เรียนโดยเฉพาะทักษะการเคลื่อนไหว  การเล่นดนตรีควรจะแตกต่างกัน เช่น  ในเรื่องของการ เคลื่อนไหวนักเรียนชายจะเคลื่อนไหวว่องไวและโลดโผน  แต่นักเรียนหญิงจะเชื่องช้ากว่าและนุ่ม นวล  ดังนั้นการจัดกิจกรรมก็ควรจะคำนึงถึงความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้เรียน หรือแม้แต่การเล่น เครื่องดนตรี  จะสังเกตเห็นได้ว่านักเรียนชายชอบตีกลอง  ซึ่งมีเสียงดังและสามารถออกแรงตีได้ มากกว่าเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ในขณะที่นักเรียนหญิงจะสามารถเล่นเครื่องดนตรีจำพวกไทรแอง เกิล  ลูกกระพรวน  ได้นุ่มนวลกว่า  หากการจัดการเรียนการสอนคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้  ผู้รียนก็ จะได้รับประสิทธิภาพสูงสุด
                ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดนตรี สำหรับเด็กวัยประถมศึกษา  นอกจาก จะคำนึงถึงการให้เนื้อหาและทักษะต่าง ๆ ที่ครอบคลุมแล้วในกระบวนการของการฝึกทักษะต่าง ๆ เรายังสามารถแทรกกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นเกมดนตรีลงในทักษะนั้น ๆ ได้ ( Vajda, 1974 ) ตาม แนวความคิดของโคดาย  ที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า  น่าจะเหมาะสมกับการสอนดนตรีใน เมืองไทยเรา  กล่าวคือ โคดายเน้นการสอนจากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยากและอย่างมีระบบ ( Kite, 1985 )  นอกจากนี้กิจกรรมที่มีลักษณะเป็นเกมดนตรีที่จะจัดให้แก่เด็กในช่วงระดับประถมศึกษา ตาม แนวคิดของโคดายนั้นก็มิได้ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด  ซึ่งสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ ของเมืองไทยในยุคปัจจุบัน  และยังฝึกฝนให้ผู้เรียนมีการได้ยินที่ดี  เป็นการฝึกระบบโสตประสาท  มีจังหวะในตัวเอง  อันเป็นพื้นฐานทางดนตรีที่เด็กในวัยนี้น่าจะได้รับการฝึกฝน เพื่อให้มีพัฒนาการ ที่สูงขึ้นต่อไป
                การจัดเกมดนตรีในกิจกรรมการเรียนการสอนดนตรีนั้น  ผู้สอนสามารถคิดเกมดนตรีให้สอดคล้องกับทักษะต่าง ๆ ได้หลายทักษะเช่น  เกมการร้อง  สามารถจัดกิจกรรมให้สอดคล้อง ระหว่างทักษะการร้องเพลงและการอ่านโน้ต  เกมจังหวะดนตรี สามารถจัดกิจกรรมให้สอดคล้อง ระหว่างทักษะการเล่นดนตรี  การเคลื่อนไหวหรืออื่น ๆ การจะเล่นเกมเหล่านี้ได้  ผู้เรียนก็ต้องอาศัย ทักษะการฟังก่อนทั้งสิ้น  และเมื่อผู้เรียนได้รับประสบการณ์ในกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้มากขึ้น ในที่ สุดก็จะสามารถคิดสร้างสรรค์ผลงานของตนเองขึ้นมาได้
                ในที่นี้ผู้เขียนใคร่ของยกตัวอย่างเพลงปิ้งขนมปังสำหรับนักเรียน ช่วงชั้นที่ 1 ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ภาคเรียนที่ 1 - 2 ประจำปีการศึกษา 2564 โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย ที่เพิ่งเริ่มเรียนดนตรี โดยเริ่มจากการให้นักเรียนฝึกฟังเพลงจากการเป่าขลุ่ยเพียงออ , ขลุ่ยไทย เทียบเสียงสากล คีย์ C , คีย์ B , คีย์ G เพลงที่นักเรียนชอบฟังและร้องตามลำดับ
  • เพลงดาบพิฆาตอสูร
  • เพลงช้าง
  • เพลงโดเรมอน
  • เพลงเปาบุ้นจิ้น
  • เพลงลอยกระทง
  • เพลงวาฬเกยตื้น
  • เพลงมองมองบนฟ้า
  • เพลงพรปีใหม่
  • เพลงเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้
  • เพลงพม่ากลองยาว (ออกพม่าเขว) 
  • เพลงประกอบการ์ตูนโคนัน
  • เพลงปิ้งขนมปัง
                โดยปกติเพลงที่นักเรียนชอบเป็นเพลงที่มีจังหวะเร้าใจ สนุก ช้า เร็ว และมีเนื้อร้องที่เป็นเรื่องราวที่ใกล้ตัวเด็ก เพลงสั้นๆ ทำนองไม่กว้างจนเกินไป สามารถร้องได้ มีท่าทางประกอบ โดยใช้ภาษท่าแบบนาฏศิลป์ ท่าตบมะผาบ ท่ามวยโบราณ ท่าตบฉาก ประกอบ




                

ครูเค รักล้านนา

รักอิสระ รักสุขภาพ รักฟ้อนเจิงล้านนา

ใหม่กว่า เก่ากว่า